“พร็อพเพอร์ตี้กูรู” บริษัทแม่ 2 เว็บอสังหาฯ ชื่อดังของไทย เผยผลประกอบการไตรมาส 4 และประจำปี 2566รายได้แตะ 150 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และกำไรส่วนที่เป็นเงินสดพุ่ง 19 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ในปีที่ผ่านมา

·    รายได้ทั้งหมดโตขึ้น 11% มาอยู่ที่ 150 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว พันล้านบาท เมื่อเทียบอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ มีนาคม 2567) ในปี 2566 

·    กำไรส่วนที่เป็นเงินสด (Adjusted EBITDA) เพิ่มจาก ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 80 ล้านบาท) ในปี 2565 มาอยู่ที่ 19 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ในปี 2566 (ราว 507 ล้านบาท)

·    การบริหารต้นทุนการจัดการตั้งแต่เริ่มต้น (Active cost management) ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นที่ได้ (Adjusted EBITDA margin) เพิ่มขึ้นจาก 2% ในปี 2565 เป็น 13% ในปี 2566 

·    บริษัทฯ คาดว่าผลประกอบการทั้งปี 2567 จะอยู่ระหว่าง 165-180 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 4.4-4.8 พันล้านบาท) ส่วนกำไรที่เป็นเงินสด (Adjusted EBITDA) คาดว่าจะอยู่ที่ระหว่าง 22-26 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 587-694 ล้านบาท)

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป จำกัด (ชื่อในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก NYSE: PGRU) (จากนี้จะเรียกแทนว่า “พร็อพเพอร์ตี้กูรู” หรือ “บริษัท”) บริษัทเทคโนโลยีด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[1], (“PropTech”) และเป็นบริษัทแม่ของ แพลตฟอร์มอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของเมืองไทย ประกอบด้วย ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับหนึ่งของไทย และ thinkofliving.com เว็บไซต์รีวิวโครงการอสังหาฯ ชั้นนำของไทย เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้แถลงผลประกอบการประจำไตรมาสที่ ซึ่งสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 โดยรายได้ในช่วงไตรมาสที่ ปี 2566 อยู่ที่ 42 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 1.1 พันล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้าราว 4% ในขณะที่กำไรสุทธิในไตรมาสที่ อยู่ที่ ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 27 ล้านบาท) และกำไรส่วนที่เป็นเงินสด[2] (Adjusted EBITDA หรือกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย) อยู่ที่ ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 240 ล้านบาท) ตัวเลขดังกล่าวเทียบกับการขาดทุนสุทธิของไตรมาสเดียวกันในปี 2565 ซึ่งอยู่ที่ ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 133 ล้านบาท) และ Adjusted EBITDA ซึ่งอยู่ที่ 0.5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 13 ล้านบาท) 

 

ความเห็นจากผู้บริหาร  

 

A person in a black shirt

Description automatically generated

 

นายแฮร์รี่ วี. คริชนัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าวว่า “ผลประกอบการประจำปี 2566 ของเราแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเราในการเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจมหภาคที่ผันผวน และความมุ่งมั่นของเราที่ต้องการสร้างกำไรให้เกิดขึ้นกับธุรกิจที่เราทำ เราสามารถสร้างรายได้ของทั้งปีให้เติบโตในระดับตัวเลข หลักได้ เช่นเดียวกับอัตรากำไร Adjusted EBITDA ตัวเลขเหล่านี้นับเป็นผลงานที่แสดงถึงความสามารถของเราอย่างชัดเจนในการสร้างมูลค่าให้กับลูกค้าของเรา และช่วยให้ผู้ที่กำลังหาบ้านสามารถบรรลุเป้าหมายในการมีบ้านเป็นของตัวเองได้ในที่สุด 

แม้ว่าสภาพตลาดในเวียดนามและมาเลเซียจะอยู่ในสถานะที่ไม่ค่อยดีนักในปีที่ผ่านมา แต่เรายังสามารถสร้างผลประกอบการได้ขนาดนี้ นั่นเพราะการลงทุนแบบมุ่งเน้นไปที่การปรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้เหมาะสมมีการปรับกระบวนการทำงานภายในให้เป็นแบบอัตโนมัติมากขึ้นพัฒนากระบวนการดูแลรักษาคุณภาพ (Code Quality) และการสร้างผลิตภาพ (Productivity) ในฝั่งของเทคโนโลยี เรายังคงเดินหน้าลงทุนในการนำ Generative AI และระบบอัตโนมัติมาใช้ เพื่อให้เราเป็นบริษัทเทคโนโลยีด้านอสังหาฯ ชั้นแนวหน้า และทำให้เราสามารถพัฒนาผลิตภาพ (Productivity) ได้อย่างต่อเนื่องในอนาคตต่อจากนี้  

เรายังคงสร้างการเปลี่ยนแปลงแบบเชิงรุกเพื่อสร้างความยั่งยืน และอนาคตที่มีหลักประกันให้กับธุรกิจของเรา ตามหลักการที่เราถือปฏิบัติในการลงทุนแบบโฟกัสในตลาดที่เราดำเนินธุรกิจอยู่ เราได้เดินหน้าเชิงกลยุทธ์ด้วยการปรับองค์กร ซึ่งจะทำให้เรามั่นใจว่าการลงทุนของเรามีสัดส่วนที่เหมาะสมกับโอกาสที่มีอยู่ ด้วยประสิทธิภาพที่เหมาะสมในการที่จะสร้างการเติบโตแบบมีผลกำไรที่สามารถเพิ่มขึ้นได้ในอนาคตต่อจากนี้  

เราตระหนักดีว่า การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับพวกเราทุกคน และผมขอเป็นตัวแทนของบริษัทฯ ในการแสดงความขอบคุณอย่างสุดซึ้งต่อความทุ่มเทที่ผ่านมาของชาวกูรูทุกท่านที่ได้รับผลกระทบจากการปรับโครงสร้างองค์กรครั้งล่าสุด และขออวยพรให้พนักงานทุกคนประสบความสำเร็จในก้าวต่อไปของชีวิตการทำงาน 

ต่อจากนี้ ในขณะที่เราคาดการณ์ว่าความท้าทายของเศรษฐกิจในระดับมหภาคยังคงดำเนินต่อไป แต่แผนการสู่ความสำเร็จของเรายังคงมีความชัดเจน สร้างสรรค์ และล้ำสมัยด้วยทีมผู้บริหารและพนักงานที่เต็มไปด้วยความสามารถ และการนำเทคโนโลยีมาช่วยสนับสนุนอย่างเหมาะสม ในปี 2566 ที่ผ่านมา เราได้ผู้บริหารท่านใหม่เข้ามาร่วมทีม และนับตั้งแต่ต้นปี 2567 เราได้ต้อนรับคุณเรย์ เฟอร์กูสัน มาสู่ทีมคณะกรรมการบริหารในฐานะประธานกรรมการบริหารคนใหม่ของพร็อพเพอร์ตี้กูรู คุณเรย์มาพร้อมกับประสบการณ์ที่พรั่งพร้อมและยาวนานในการสร้างธุรกิจที่มีชื่อเสียงการนำทีมผู้นำขององค์กร และการเจาะตลาดต่าง ๆ ที่มีศักยภาพ   

เรายังคงมีความมั่นใจในโอกาสการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแน่นอนว่าวิสัยทัศน์ของเราจะยังคงมุ่งขับเคลื่อนชุมชนต่าง ๆ เพื่อการอยู่อาศัย การทำงาน และพัฒนาสู่ความเป็นเมืองแห่งอนาคตต่อไป

 

A person in a suit smiling

Description automatically generated

 

ด้านนายโจ ดิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน กล่าวเพิ่มเติมว่า ผมรู้สึกพอใจกับผลประกอบการของปี 2566 เป็นอย่างยิ่ง เราสามารถทำรายได้ที่โตกว่าปีก่อนหน้าถึง 11% และในส่วนของอัตรากำไร Adjusted EBITDA ก็เพิ่มขึ้นถึง 13% จากปีก่อนหน้า ทั้ง ๆ ที่ต้องเผชิญกับความท้าทายที่ค่อนข้างใหญ่ใน ตลาดหลักของเรา นั่นคือเวียดนาม และมาเลเซีย 

ในขณะที่เรากำลังเข้าสู่ปี 2567 และกำลังเข้าใกล้จุดเปลี่ยนเชิงบวกที่สำคัญทั้งในเวียดนามและมาเลเซีย เราก็พบว่าสิ่งที่เราพยายามทำภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง อาทิ การควบคุมค่าใช้จ่าย การบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ และความพยายามในการสร้างขั้นตอนการทำงานให้เป็นแบบอัตโนมัติมากขึ้น ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในปี 2566 เราใช้เวลาในปีที่ผ่านมาในการสร้างความสมดุลระหว่างการคิดค้นโปรดักส์ใหม่ ๆ และลงทุนอย่างระมัดระวังด้วยการจัดการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ และเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในไตรมาสที่ เมื่ออัตรากำไร Adjusted EBITDA ของเราโตขึ้นแบบก้าวกระโดดจาก 1% ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้ามาอยู่ที่ 22% ในไตรมาส ของปี 2566

กำไรสุทธิในไตรมาส ของปี 2566 อยู่ที่ ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 27 ล้านบาท) นับเป็นการเติบโตที่โดดเด่นจากการขาดทุนมูลค่า ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 133 ล้านบาท) เมื่อไตรมาส ของปี 2565 และยังถือเป็นไตรมาสที่ ติดต่อกันในปี 2566 ที่มีรายได้สุทธิเป็นบวก 

สำหรับผลประกอบการทั้งปี 2566 ในหน่วยธุรกิจมาร์เก็ตเพลสมีผลกำไร Adjusted EBITDA ที่เป็นบวก โดยในสิงคโปร์ มาเลเซีย และตลาดเอเชียอื่น ๆ ที่มีการเติบโตของอัตราผลกำไร Adjusted EBITDA ที่โดดเด่น เป็นที่น่าสังเกตว่าค่าใช้จ่ายในองค์กรเมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของรายได้ทั้งหมด ลดลงจาก 39% ในปี 2565 ลดลงมาอยู่ที่ 37% ในปี 2566 

สำหรับปี 2567 เราจะยังคงเดินหน้าโฟกัสการพัฒนาขั้นตอนการดำเนินงานในส่วนต่าง ๆ ภายในองค์กรเพื่อให้มีผลิตผลและผลกำไรเพิ่มมากขึ้น โดยเราคาดว่ารายได้ทั้งปีของปี 2567 น่าจะอยู่ที่ราว 165-180 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 4.4-4.8 พันล้านบาท) ในขณะที่ Adjusted EBITDA ของทั้งปีคาดว่าจะอยู่ที่ราว 22-26 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 587-694 ล้านบาท)

 

ไฮไลต์ผลประกอบการ – ไตรมาส และประจำปี 2566 

·    รายได้โดยรวมเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 42 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (+4%) ในไตรมาส เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า และทั้งปีเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 150 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (+11%) เมื่อเทียบกับปี 2565 

·    รายได้ของหน่วยธุรกิจมาร์เก็ตเพลสเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 40 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (+4%) ในไตรมาส เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 144 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (+10%) เมื่อเทียบกับปี 2565 จากความแข็งแกร่งของผลประกอบการของตลาดสิงคโปร์ที่ช่วยทดแทนความท้าทายที่เรากำลังเผชิญอยู่ในตลาดเวียดนาม  

·    รายได้ตามเซ็กเมนต์:

·       รายได้จากหน่วยธุรกิจมาร์เก็ตเพลสในสิงคโปร์เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 23 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (+23%) ในไตรมาสที่ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 86 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (+24%) ในปี 2566 เมื่อเทียบกับปี 2565 จากจำนวนเอเจนต์และรายได้เฉลี่ยต่อเอเจนต์ (“ARPA”) ที่เติบโตขึ้นในไตรมาส และทั้งปี 2566 โดยในช่วงไตรมาส 4 ARPA ของสิงคโปร์อยู่ที่ 1,312 ดอลลาร์สิงคโปร์ และทั้งปีอยู่ที่ 4,977 ดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งโตขึ้นราว 22% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ในขณะที่จำนวนเอเจนต์ในสิงคโปร์เพิ่มขึ้น 100 คนจากไตรมาส ของปี 2566 ทำให้จำนวนเอเจนต์ของสิงคโปร์ทั้งปีอยู่ที่ 16,424 ราย อัตราการต่ออายุแพ็คเกจอยู่ที่ 75% ในไตรมาส และอัตราของทั้งปี 2566 เฉลี่ยอยู่ที่ 81%   

·    รายได้จากหน่วยธุรกิจมาร์เก็ตเพลสในมาเลเซียค่อนข้างทรงตัวในไตรมาส โดยอยู่ที่ ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (-0.3%) เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นจากปี 2565 (+9%) มาอยู่ที่ 28 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ในปี 2566 รายได้ที่ใช้สกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์เป็นเบสค่อนข้างได้รับผลกระทบจากค่าเงินริงกิตมาเลเซียที่อ่อนตัวลง ถ้าดูจากสกุลเงินท้องถิ่น รายได้ในไตรมาส เพิ่มขึ้นราว 5% และรายได้ของทั้งปีเพิ่มขึ้น 16% 

·       รายได้จากหน่วยธุรกิจมาร์เก็ตเพลสในเวียดนามลดลงมาอยู่ที่ ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (-22%) ในช่วงไตรมาสที่ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า และลดลง 17 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (-29%) เมื่อเทียบระหว่างปี 2566 และปี 2565 เนื่องจากจำนวนของประกาศที่ลดลง อย่างไรก็ดี ยังมีรายได้บางส่วนที่ถูกทดแทนด้วยรายได้เฉลี่ยต่อประกาศ (“ARPL”) ที่เพิ่มขึ้น จำนวนประกาศในไตรมาส อยู่ที่ 1.2 ล้านรายการ ลดลง 26% จากไตรมาส ของปี 2565 ในขณะที่ ARPL เพิ่มขึ้น 3% มาอยู่ที่ 3.34 ดอลลาร์สิงคโปร์ในไตรมาสที่ และเพิ่มขึ้น 14% มาอยู่ที่ 3.39 ดอลลาร์สิงคโปร์สำหรับทั้งปี 2566 

·       รายได้จากหน่วยธุรกิจฟินเทค แอนด์ ดาต้า เซอร์วิสเซส ลดลงมาอยู่ที่ ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (-10%) ในไตรมาส เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า และรายได้ทั้งปีเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (+20%) เมื่อเทียบกับปี 2565 

         ·    ณ สิ้นไตรมาส เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด อยู่ที่ 306 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 8.2 พันล้านบาท)  

 

Information regarding our operating segments is presented below. It is noted that in 2023 the Company no longer removed the ongoing cost of being a listed entity when calculating Adjusted EBITDA. As such, the 2022 comparatives have been retrospectively adjusted accordingly.

  

 

 

For the Three Months Ended December 31,

 

 

 

2023

   

2022

   

YoY Growth

 

 

 

(S$ in thousands except percentages)

 
                   

Revenue

   

41,506

     

40,097

     

3.5

%

Marketplaces

   

39,939

     

38,350

     

4.1

%

Singapore

   

23,094

     

18,805

     

22.8

%

Vietnam

   

4,587

     

5,870

     

-21.9

%

Malaysia

   

7,505

     

7,531

     

-0.3

%

Other Asia

   

4,753

     

6,144

     

-22.6

%

Fintech and data services

   

1,567

     

1,747

     

-10.3

%

Adjusted EBITDA

   

8,928

     

503

       

Marketplaces

   

24,039

     

18,240

       

Singapore

   

17,401

     

11,441

       

Vietnam

   

590

     

722

       

Malaysia

   

3,608

     

3,429

       

Other Asia

   

2,440

     

2,648

       

Fintech and data services

   

(2,262

)

   

(1,940

)

     

Corporate*

   

(12,849

)

   

(15,797

)

     

Adjusted EBITDA Margin (%)

   

21.5

%

   

1.3

%

     

Marketplaces

   

60.2

%

   

47.6

%

     

Singapore

   

75.3

%

   

60.8

%

     

Vietnam

   

12.9

%

   

12.3

%

     

Malaysia

   

48.1

%

   

45.5

%

     

Other Asia

   

51.3

%

   

43.1

%

     

Fintech and data services

   

-144.4

%

   

-111.0

%

     

 

Visitors: 1,998,949