หัวเว่ยเชิญนักพัฒนาแอปพลิเคชัน ร่วมมือปั้นเนทีฟ แอปฯ สำหรับระบบปฏิบัติการ HarmonyOS

นายอีริค สวี ประธานกรรมการบริหารแบบหมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย ประกาศขอความร่วมมือในกลุ่มนักพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อพัฒนาเนทีฟ แอปฯ สำหรับระบบปฏิบัติการ HarmonyOS ของหัวเว่ย ว่า “เราสนับสนุนให้นักพัฒนาและเจ้าของธุรกิจแอปพลิเคชันในจีนเข้าร่วมอีโคซิสเต็มเนทีฟ แอปฯ ของระบบปฏิบัติการ HarmonyOS (แอปพลิเคชันที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อการใช้งานบนระบบปฏิบัตการ HarmonyOS โดยเฉพาะ) เพื่อผนึกกำลังมอบประสบการณ์เหนือระดับให้กับลูกค้า” HarmonyOS คือระบบปฏิบัติการเจเนอเรชันใหม่ของหัวเว่ยที่ทำงานบนอุปกรณ์อัจฉริยะได้หลากหลาย อาทิ สมาร์ทโฟนอุปกรณ์อัจฉริยะสำหรับสวมใส่แท็บเล็ตและสมาร์ท ทีวี ภายในสิ้นปี พ.ศ. 2566 ระบบปฏิบัติการ HarmonyOS เป็นระบบปฏิบัติการหลักของอุปกรณ์อัจฉริยะมากกว่า 800 ล้านเครื่อง โดยข้อมูลจาก Counterpoint Research เผยว่า HarmonyOS มีส่วนแบ่งตลาดทั่วโลกถึง 4% และมีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 16% ในประเทศจีนในไตรมาสที่สี่ของปี พ.ศ. 2566

นายอีริค สวี กล่าวว่า การพัฒนาอีโคซิสเต็ม HarmonyOS ของหัวเว่ยรุดหน้าอย่างมาก ในปัจจุบัน แอปพลิเคชันจำนวนกว่า 4,000 แอปจากเป้าหมาย 5,000 แอปได้เข้าสู่กระบวนการพัฒนาเพื่อรองรับระบบปฏิบัติการ HarmonyOS โดยหัวเว่ยตั้งเป้าพัฒนาหนึ่งล้านแอปพลิเคชันให้รองรับการใช้งานบนอีโคซิสเต็ม HarmonyOS

นายอีริค สวี เผยว่า HarmonyOS มาพร้อมสถาปัตยกรรมแบบใหม่ เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเทคโนโลยี IoT ได้รับการออกแบบให้ตอบโจทย์การใช้งานบนอุปกรณ์ทุกประเภทตั้งแต่อุปกรณ์ IoT, โทรศัพท์เคลื่อนที่ ตลอดจนอุปกรณ์อัจฉริยะในบ้านแล็ปท็อปและเดสก์ท็อป ตอบโจทย์การใช้งานแบบระบบปฏิบัติการเดียวกันสำหรับทุกอุปกรณ์

ในอดีต เรามุ่งปรับการใช้งาน HarmonyOS สำหรับอุปกรณ์อัจฉริยะทุกประเภท โดยแอปพลิเคชันต่าง ๆ ยังคงใช้อีโคซิสเต็มของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ในประเทศจีน ผู้ใช้สมาร์ทโฟนหัวเว่ย ใช้เวลา 99% ไปกับแอปพลิเคชันประมาณ 5,000 แอป ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2567 เราจึงตัดสินใจพัฒนาแอปเหล่านี้ให้รองรับ HarmonyOS เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการผสานการทำงานระหว่างอีโคซิสเต็มของระบบปฏิบัติการและแอปพลิเคชันเข้าด้วยกันอย่างแท้จริง” นายอีริค สวี กล่าว

ในปี พ.ศ. 2567 หัวเว่ยมุ่งบรรลุเป้าหมายการสร้างอีโคซิสเต็มสำหรับเนทีฟ แอปฯ ของ HarmonyOS การผลักดันอีโคซิสเต็ม HarmonyOS นับเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่ แต่เราได้รับการสนับสนุนอย่างล้นหลามจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมและจากนักพัฒนาแอปพลิเคชัน ในวันที่เรามีแอปพลิเคชันที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์จำนวน 5,000 แอป และแอปอื่น ๆ จำนวนหลายพันแอปที่ได้รับการพัฒนาให้รองรับการทำงานบน HarmonyOS เราจะบรรลุเป้าหมายการสร้าง HarmonyOS ให้เป็นระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์อัจฉริยะอันดับที่สามของโลก เพิ่มเติมจาก Apple iOS และ Google Android” นายอีริค สวี กล่าวย้ำ แม้ว่าในช่วงแรก หัวเว่ยมุ่งใช้งานระบบ HarmonyOS เฉพาะประเทศจีน นายอีริค สวี เปิดเผยว่าบริษัทจะเดินหน้าขยายการใช้ระบบ HarmonyOS ในประเทศอื่น ๆ โดยใช้กลยุทธ์การขยายแบบรายประเทศ

สรุปรายงานประจำปี พ.ศ. 2566 ของหัวเว่ย จัดพิมพ์เมื่อสิ้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 เผยว่า หัวเว่ยทุ่มทุนบ่มเพาะบุคลากรผู้เชี่ยวชาญเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาอีโคซิสเต็ม HarmonyOS โดยนักพัฒนามากกว่า 380,000 ราย ได้รับการรับรองการทำงานบนระบบ HarmonyOS นอกจากนี้ หัวเว่ยได้ร่วมผลักดันโครงการความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและอุตสาหกรรมเพื่อร่วมพัฒนา HarmonyOS กว่า 150 โครงการ นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2566 มหาวิทยาลัยมากกว่า 135 แห่งในประเทศจีนมีหลักสูตรการเรียนการสอนด้านระบบปฏิบัติการ HarmonyOS อีกด้วย

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 เคอร์เนลของระบบปฏิบัติการหงเหมิง (HongMeng) หรือ HarmonyOS ของหัวเว่ย ได้รับการรับรองการทดสอบและรับรองตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยระดับ 6 (Evaluation Assurance Level 6 Augmented - EAL6+) เป็นครั้งแรกในอุตสาหกรรม จากมาตรฐานเกณฑ์การประเมินความปลอดภัยของข้อมูล Common Criteria for Information Technology Security Edging (CC) ซึ่งเป็นระดับความปลอดภัยสูงสุดของเคอร์เนลของระบบปฏิบัติการเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป หัวเว่ยจึงเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์อัจฉริยะรายแรกของโลกที่ได้รับการรับรองในสาขานี้

นายอีริค สวี ยอมรับว่าการสร้างอีโคซิสเต็ม HarmonyOS เป็นภารกิจที่ท้าทายอย่างยิ่ง “ดังที่คุณทราบแล้วว่าก่อนหน้านี้การพัฒนา HarmonyOS มิได้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์หลักของเรา แต่ในเมื่อเราตัดสินใจดำเนินกลยุทธ์นี้แล้ว เราจะมุ่งมั่นขับเคลื่อนเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดีที่สุด”

Visitors: 1,148,907