ธ.ก.ส.เติมทุน 30,000 ล้าน หนุน SME ดำเนินธุรกิจภายใต้หลัก BCG Model

 ธ.ก.ส. หนุนธุรกิจ SME นำนวัตกรรมและเทคโนโลยี มาต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตและสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนภายใต้ BCG Model  ชูสวนส้มปรีชาฝาง ต้นแบบการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยนำผลงานวิจัยมาลดต้นทุนและเพิ่มมาตรฐานผลผลิต  ทำให้ส้มสายน้ำผึ้งมีคุณภาพดีปลอดภัยจากสารพิษ มีการนำวัตถุดิบเหลือใช้ ทั้งเปลือกส้ม เมล็ดส้ม มาแปรรูปต่อยอดไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า การจัดการดินและระบบน้ำ การลดขยะจากต้นทางสร้าง Zero waste เน้นนำผลิตภัณฑ์ชุมชนมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ที่งดงามมีเอกลักษณ์ พร้อมเชื่อมต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ กระตุ้นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน โดย ธ.ก.ส. พร้อมจัดวงเงินกว่า 30,000 ล้านบาท ผ่านสินเชื่อ SME เสริมแกร่ง อัตราดอกเบี้ยร้อยละ

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี เยี่ยมชมบูธและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนายณัฐพจน์ เชษฐาวัฒนานุกูล เจ้าของสวนส้มปรีชาฝางที่ดำเนินธุรกิจสวนส้มสายน้ำผึ้งด้วยความมุ่งมั่น และตั้งใจมากว่า 35 ปี มีการวิจัยและพัฒนาด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อให้ได้ส้มที่มีคุณภาพดีและรสชาติเป็นเอกลักษณ์ ตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกที่ไม่ใช้สารเคมี แต่ใช้เชื้อจุลินทรีย์และสารสกัดจากพืชมากำจัดและควบคุมศัตรูส้มแบบชีววิธี (Biological Controls) สามารถแก้ไขปัญหาสารเคมีตกค้างในผลส้มและดินที่ปลูก มีการนำวัตถุดิบเหลือใช้จากผลส้ม เช่น เปลือก เมล็ดมาแปรรูปและต่อยอดไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ซึ่งถือเป็นแบบอย่างในการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใต้หลัก BCG Economy Model โดยมีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการ ธ.ก.ส และนายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการ ธ.ก.ส. ร่วมให้ข้อมูล  ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2566

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า ประเทศไทยติดกับดักรายได้ปานกลางมาอย่างยาวนาน รัฐบาลโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี      ได้วางยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนประเทศ โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยไปสู่รูปแบบใหม่ที่เรียกว่า BCG Economy Model ซึ่งจะช่วยต่อยอดจุดแข็งของประเทศให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทั้งในด้านความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยอาศัยกลไกวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง และเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจจาก ทำมากแต่ได้น้อย” ไปสู่ “ทำน้อยแต่ได้มาก” ประกอบด้วย B: Bio Economy ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า ทดแทนการใช้สารเคมี C: Circular Economy ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้ G : Green Economy ระบบเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งมุ่งแก้ไขปัญหามลพิษ เพื่อลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่มุ่งส่งเสริมการเติบโตโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง 

Visitors: 1,147,723