กรมอุทยานฯ มุ่งสู่การเป็นอุทยานแห่งชาติสีเขียวหวังใช้พลังงานสะอาดภายในอุทยานทั่วประเทศ

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เล็งเปลี่ยนการใช้พลังงานไฟฟ้าตามบ้านพักอุทยานหรือที่พักนักท่องเที่ยวให้เป็นพลังงานสะอาดมุ่งสู่การเป็นอุทยานแห่งชาติสีเขียว

นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า การดำเนินงานที่ผ่านมา ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้มีการดำเนินการพัฒนาพลังงานสะอาดมาโดยตลอด ได้แก่ พลังงานพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานน้ำ ซึ่งเป็นการดำเนินการด้วยกรมเอง และการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภายนอก โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้มีการจัดสรรงบประมาณในการจัดชื้อระบบผลิตไฟฟ้าสำหรับพื้นที่ห่างไกลด้านพลังงานแสงอาทิตย์ และระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานเช่น เกาะ ภูเขา  เกาะตะรุเตา บนภูกระดึง อุทยานแห่งชาติตาดหมอก อุทยานแห่งชาติแม่เมย อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ เกาะห้อง หมู่เกาะอ่างทอง เป็นต้น การดำเนินงานที่ผ่านมาจำเป็นต้องมีเครื่องดีเซลร่วมเนื่องจากแหล่งผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดเพียงแหล่งเดียวไม่เสถียรและเทคโนโลยียังไม่ทันสมัยเทียบกับปัจจุบัน ทำให้ระบบกักเก็บมีข้อจำกัด และความต้องการไฟฟ้าเริ่มสูงมากขึ้นเมื่อมีการท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังมีไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาดเล็กมาก กำลังการผลิตไม่เกิน 100 กิโลวัตต์ ณ อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน จังหวัดลำปาง และอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งมีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 30 ปี

                นอกจากนี้ได้รับความร่วมมือจาก กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้นำโครงการพลังงานน้ำขนาดเล็กนำร่อง 3 แห่ง ได้แก่ โครงการห้วยแม่สลิดน้อย อุทยานแห่งชาติแม่เมย โครงการห้วยบง 2 อุทยานแห่งชาติตาดหมอก และโครงการน้ำแม่กึมหลวง 1 อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก ในปี 2561 นอกจากนี้ ปี 2549 – 2559 ได้มีโครงการจัดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ สำหรับหน่วยงานในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและเขตอุทยานแห่งชาติที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ขนาดติดตั้ง 3 กิโลวัตต์ จำนวน 90 แห่ง และติดตั้งในพื้นที่สำนักอุทยานแห่งชาติ จำนวน 29 แห่ง สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า จำนวน 54 แห่ง สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ จำนวน 6 แห่ง และในพื้นที่สำนักสนองงานพระราชดำริ จำนวน 1 แห่ง

 ปี 2562 มีโครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ พร้อมระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้า สำหรับหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จำนวน 46 แห่ง โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณจากสำนักงานบริหารกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 (รอบ 2) โดยได้คัดเลือกพื้นที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ จำนวน 46 แห่ง จากอุทยานแห่งชาติ จำนวน 17 แห่ง ที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้เนื่องจากพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดารและไฟฟ้าเข้าไม่ถึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบไฟฟ้าอย่างเร่งด่วน มีความพร้อมทั้งสถานที่และเจ้าหน้าที่ในการดูแลและบำรุงรักษาระบบและเป็นการแก้ไขปัญหาจากการใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดดีเซลเดิมเปลี่ยนมาเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ระบบผลิตไฟฟ้าสะอาด เพื่อลดปัญหาด้านสภาพแวดล้อมและมลพิษจากระบบดีเซลเดิม ลดค่าใช้จ่ายค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และเป็นการพัฒนาสู่ต้นแบบอุทยานแห่งชาติสีเขียวที่มีการผลิต/ใช้พลังงานสะอาด โดยมีกำลังการผลิต 5 กิโลวัตต์ สามารถผลิตขนาดกำลังไฟฟ้ารวม 230 kW และมีขนาดความจุพลังงานไฟฟ้ารวม 1,296 kWh

สำหรับประเด็นด้านการบริหารจัดการทรัพยากรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยดำเนินโครงการอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park) ร่วมกับกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (สส.) เพื่อส่งเสริมศักยภาพของอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศให้เกิดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและพลังงานอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ มีการจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นหนึ่งในผลการขับเคลื่อนการจัดการอุทยานแห่งชาติที่มุ่งสู่การจัดการบนพื้นฐานของความยั่งยืนที่ตอบสนองทั้งนโยบายและพันธกิจของชาติที่มุ่งสู่ความเป็นเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio - Circular - Green Economy; BCG)

การจัดการในเรื่องการบริหารจัดการที่มีทิศทางทั้งในเรื่องของการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม การจัดการพลังงาน (ซึ่งในเกณฑ์การประเมินในเรื่องของการนำพลังงานสะอาดมาใช้ในบางพื้นที่อุทยานแห่งชาติ) การจัดการของเสีย และการพัฒนาการบริการสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการออกแบบพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน บริการต่าง ๆ ให้สามารถรองรับคนทุกกลุ่มในสังคมได้อย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งการดำเนินโครงการอุทยานแห่งชาติสีเขียว ระยะ 7 ปี (พ.ศ. 2560 - 2566) มีอุทยานแห่งชาติที่ประกาศแล้วได้รับการรับรองมาตรฐานอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park) จำนวน 122 แห่ง และอุทยานแห่งชาติที่ประกาศแล้วยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานอุทยานแห่งชาติสีเขียว 13 แห่ง สำหรับการดำเนินงานโครงการฯ ปี พ.ศ. 2566 มีอุทยานแห่งชาติเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 26 แห่ง ซึ่งผ่านเกณฑ์การตรวจประเมินอุทยานแห่งชาติและได้รับการรับรองมาตรฐานอุทยานแห่งชาติสีเขียวทุกแห่ง

                นอกจากนี้กรมอุทยานฯยังมีแผนการปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานไฟฟ้าตามบ้านพักอุทยานหรือที่พักนักท่องเที่ยวให้เป็นพลังงานสะอาด โดยได้รับความร่วมมือจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ในการออกแบบและติดตั้ง พร้อมทั้งสนับสนุนงบประมาณ ในอุทยานแห่งชาติ ดังนี้ ระบบไฟฟ้าพลังน้ำ ติดตั้งในอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ อุทยานแห่งชาติตาดหมอก และอุทยานแห่งชาติแม่เมย ระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ติดตั้งในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง โดยใช้ร่วมกับเครื่องปั่นไฟ

สำหรับแผนงานในอนาคต กรมมีแผนดำเนินการติดตั้ง Solar rooftop บนหลังคาอาคารที่ทำการอุทยานแห่งชาติ อาคารศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ที่มีการใช้งานในเวลากลางวัน เนื่องจากเป็นระบบที่ผลิตไฟฟ้าแล้วสามารถใช้งานได้เลย ไม่มีแบตเตอรี่ในการสำรองไฟ เพราะมีค่าใช้จ่ายสูงและอายุการใช้งานที่น้อย

บัญชีรายชื่อหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ  จำนวน 46 แห่ง ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณฯ

ลำดับ

อุทยานแห่งชาติ

ที่ตั้งโครงการ

จังหวัด

กำลังผลิตขอติดตั้ง (kW)

ระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้า(kWh)

1

ปางสีดา

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ
ที่ ปด.3 (โคกสัมพันธ์)

สระแก้ว

5

30

2

ปางสีดา

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ
ที่ ปด.5 (ห้วยน้ำเย็น)

สระแก้ว

5

45

3

ปางสีดา

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ
ที่ ปด.8 (พระปรง)

สระแก้ว

5

45

4

ปางสีดา

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ
ที่ ปด.9 (เขาห้วยชัน)

สระแก้ว

5

30

5

ตาพระยา

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ตย.4 (กลางดง)

สระแก้ว

5

45

6

ผาแต้ม

ฐานปฏิบัติการดงนาทาม
(ผาชะนะได)

อุบลราชธานี

5

45

7

ภูเรือ

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ที่ 2
(ภูสน)

เลย

5

45

8

ภูเรือ

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ
ที่ ภร. 2 (ลาดค่าง)

เลย

5

30

9

ภูเรือ

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ
ที่ ภร.3 (หนองบง)

เลย

5

30

10

ภูจอง-นายอย

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวน้ำตกห้วยหลวง

อุบลราชธานี

5

45

11

ภูจอง-นายอย

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ภจ.3(คำบาก)

อุบลราชธานี

5

45

12

ภูจอง-นายอย

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ภจ.5(มดง่าม)

อุบลราชธานี

5

45

13

ภูจอง-นายอย

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ภจ. 8 (ยอดลำโดมน้อย)

อุบลราชธานี

5

45

14

ทับลาน

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ทล.6 (วังทะลุ)

ปราจีนบุรี

5

45

15

ทับลาน

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ทล.16 (บ่อทอง)

ปราจีนบุรี

5

45

16

ทับลาน

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ทล.17 (ด่านละกอ)

ปราจีนบุรี

5

45

17

ทับลาน

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ทล.18 (ซับเม็ก)

ปราจีนบุรี

5

30

18

ภูพาน

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ
ที่ ภพ.8 (แก้งมดแดง)

สกลนคร

5

30

19

ภูพาน

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ
ที่ ภพ.13 (ห้วยทราย)

สกลนคร

5

45

20

ภูผาเทิบ

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่มห.2 (ห้วยช้างชน)

มุกดาหาร

5

30

21

ภูสระดอกบัว

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติฯ ที่ ภบ. 4 (ผาด่าง)

มุกดาหาร

5

30

22

ภูสระดอกบัว

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติฯ ที่ ภบ.5 (เสนางคนิคม)

อำนาจเจริญ

5

45

23

ภูผายล

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ
ที่ ภย.11 (ภูหมากแข้ง)

มุกดาหาร

5

30

24

ภูผายล

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ
ที่ ภย.12 (แก่งโพธิ์)

มุกดาหาร

5

30

25

ภูผายล

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ
ที่ ภย.13 (ห้วยประสาน)

มุกดาหาร

5

30

26

เขาแหลม

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ
ที่ ปข.7 (ห้วยองค์พระ)

กาญจนบุรี

5

30

27

เขาแหลม

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ
ที่ ปข.9 (โบอ่อง)

กาญจนบุรี

5

30

28

เขาแหลม

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ
ที่ ปข.11 (ผาผึ้ง)

กาญจนบุรี

5

30

29

เขื่อนศรีนครินทร์

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ
ที่ ศร.2 (ดงใหญ่)

กาญจนบุรี

5

45

30

เขื่อนศรีนครินทร์

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ศร.5 (สามประสบ)

กาญจนบุรี

5

30

31

เขื่อนศรีนครินทร์

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ
ที่ศร.7 (ท่าทุ่งนา)

กาญจนบุรี

5

45

32

ไทรโยค

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ทย.6 (เขาพลู)

กาญจนบุรี

5

30

33

ไทรโยค

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ทย.7 (น้ำวน)

กาญจนบุรี

5

30

34

ไทรโยค

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ทย.8 (เขารวก)

กาญจนบุรี

5

30

35

ไทรโยค

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ทย.9 (โป่งไข่)

กาญจนบุรี

5

30

36

เฉลิมรัตนโกสินทร์

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ฉส.1 (เขาเหล็ก)

กาญจนบุรี

5

30

37

เฉลิมรัตนโกสินทร์

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ฉส.2 (เขากำแพง)

กาญจนบุรี

5

30

38

ลำคลองงู

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ลง. 4 (บ้านเกริงกระเวีย)

กาญจนบุรี

5

30

39

ลำคลองงู

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ลง.7 (องธิ)

กาญจนบุรี

5

30

40

ลำคลองงู

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ลง.8 (ดินโส)

กาญจนบุรี

5

30

41

ลำคลองงู

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ลง.9(ทุ่งนางครวญ)

กาญจนบุรี

5

30

42

ทองผาภูมิ

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติฯ ที่ ทภ.2 (ไม้ยักษ์)

กาญจนบุรี

5

30

43

ทองผาภูมิ

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติฯ ที่ ทภ.4 (ผาอ้น)

กาญจนบุรี

5

30

44

ทองผาภูมิ

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติฯ ที่ ทภ.6 (โป่งช้าง)

กาญจนบุรี

5

30

45

พุเตย

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ 1 (พุเตย)

สุพรรณบุรี

5

30

46

พุเตย

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ 3 (บ้านป่าผาก)

สุพรรณบุรี

5

30

รวม

230

1,620

Visitors: 1,144,085