GULF รับรู้ Core Profit ในปี 2566 จำนวน 15,644 ล้านบาท เติบโต 29% YoY พร้อมมุ่งหน้าขยายการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนและธุรกิจดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง

บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF รายงานผลการดำเนินงานปี 2566 โดยมีรายได้รวม (Total Revenue) อยู่ที่ 116,951 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23% จาก 95,076 ล้านบาทในปี 2565 และมีกำไรจากการดำเนินงาน (Core Profit) สำหรับปี 2566 อยู่ที่ 15,644 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29% จาก 12,098 ล้านบาทในปีก่อนหน้า

การเติบโตดังกล่าวมีสาเหตุหลักมาจากกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น จากการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ของโครงการกัลฟ์ ปลวกแดง (GPD) ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าภายใต้กลุ่ม IPD หน่วยที่ 1 และ รวมกำลังการผลิตติดตั้ง 1,325 เมกะวัตต์ โดยมี Load Factor เฉลี่ยที่ 90% ในปี 2566 โครงการโรงไฟฟ้า DIPWP ในประเทศโอมานที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ครบทั้ง 326 เมกะวัตต์ตั้งแต่ต้นปี 2566 ครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม Mekong ในประเทศเวียดนามที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ครบทั้ง 128 เมกะวัตต์ในเดือนกรกฎาคม 2566 ครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) ภายใต้ GULF1 ซึ่งทยอยเปิดดำเนินการไปแล้วจำนวน 110 เมกะวัตต์ ประกอบกับการรับรู้รายได้เต็มปีของโครงการโรงไฟฟ้า GSRC ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้า IPP ภายใต้กลุ่ม IPD ที่เปิดดำเนินการครบทั้ง หน่วยเรียบร้อยแล้ว จำนวนรวม 2,650 เมกะวัตต์ ตั้งแต่ปลายปี 2565

นอกจากนี้ ผลการดำเนินงานของธุรกิจพลังงานยังเติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดย SPP 12 โครงการภายใต้กลุ่ม GMP มีกำไร Core Profit เพิ่มขึ้นจาก 1,435 ล้านบาทในปี 2565 เป็น 3,097 ล้านบาทในปี 2566 เพิ่มขึ้น 1,661 ล้านบาท หรือ 116% จากปีก่อนหน้า โดยมีสาเหตุหลักมาจากอัตรากำไรขั้นต้นที่สูงขึ้นจากการขายไฟฟ้าให้กลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรม ซึ่งราคาค่าก๊าซเฉลี่ยปรับตัวลดลงจาก 494.8 บาท/ล้านบีทียูในปี 2565 เป็น 385.4 บาท/ล้านบีทียูในปี 2566 ขณะที่ค่า Ft เฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 0.40 บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมงในปี 2565 เป็น 0.89 บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมงในปี 2566 อีกทั้ง โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม 3 โครงการภายใต้กลุ่ม Gulf Gunkul Corporation รับรู้ส่วนแบ่งกำไร Core Profit เพิ่มขึ้น 174% จากจำนวน 324 ล้านบาทในปี 2565 เป็น 889 ล้านบาทในปี 2566 ซึ่งเป็นผลมาจากการรับรู้ผลการดำเนินงานเต็มปีของโครงการดังกล่าว ซึ่ง GULF ได้เข้าลงทุนไปเมื่อเดือนกรกฎาคม 2565 ประกอบกับโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล GCG มีกำไรที่เพิ่มขึ้นจาก 170 ล้านบาทในปี 2565 เป็น 263 ล้านบาทในปี 2566 หรือเพิ่มขึ้น 55% จากต้นทุนราคาไม้เฉลี่ยที่ลดลงจาก 1,036 บาท/ตันในปี 2565 เป็น 869 บาท/ตันในปี 2566 ขณะที่ราคาค่า Ft ขายส่งเฉลี่ยที่สูงขึ้นจาก 0.25 บาท/กิโลวัตต์ในปี 2565 เป็น 0.72 บาท/กิโลวัตต์ในปี 2566 อย่างไรก็ดี ปัจจัยบวกดังกล่าวบางส่วนถูกชดเชยโดยส่วนแบ่งกำไรที่ลดลงของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่งทะเล Borkum Riffgrund 2 (BKR2) ที่ประเทศเยอรมนี เนื่องจาก GULF ได้ลดสัดส่วนการถือหุ้นในโครงการนี้ลงจาก 50.00% เหลือ 24.99% โดยจำหน่ายหุ้นในสัดส่วน 25.01% ให้กับ Keppel Group เมื่อเดือนธันวาคม 2565

ในปี 2566 GULF รับรู้ส่วนแบ่งกำไร Core Profit จาก PTT NGD จำนวน 396 ล้านบาท ซึ่งพลิกจากผลขาดทุนจำนวน 128 ล้านบาทในปี 2565 จากราคาต้นทุนค่าก๊าซธรรมชาติเฉลี่ยที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และรับรู้ส่วนแบ่งกำไร Core Profit จำนวน 241 ล้านบาท จากโครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว (Thai Tank Terminal) ที่ได้เข้าลงทุนในเดือนธันวาคม 2565 อีกด้วย

นอกจากนี้ GULF รับรู้ส่วนแบ่งกำไร Core Profit จากการลงทุนใน INTUCH จำนวน 6,101 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,445 ล้านบาท หรือ 31% จาก 4,656 ล้านบาทเมื่อปี 2565 โดยสาเหตุหลักมาจากผลประกอบการที่ดีขึ้นของ AIS

ทั้งนี้ GULF มีกำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ในปี 2566 จำนวน 35,370 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21% เมื่อเทียบกับ 29,138 ล้านบาทในปี 2565 และกำไรสุทธิ (Net Profit) ส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ในปี 2566 (รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน) อยู่ที่ 14,858 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30% จาก 11,418 ล้านบาทในปี 2565

 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 GULF มีสินทรัพย์รวม 459,514 ล้านบาท หนี้สินรวม 315,410 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้น 144,104 ล้านบาท โดยมีอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Net Interest-Bearing Debt to Equity) อยู่ที่ 1.69 เท่า เพิ่มขึ้นจาก 1.56 เท่า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 โดยการเพิ่มขึ้นดังกล่าวเป็นผลมาจากจำนวนหนี้สินระยะยาวที่เพิ่มขึ้นจากการออกและจำหน่ายหุ้นกู้จำนวน 35,000 ล้านบาท ในปี 2566 ประกอบกับการเบิกเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินเพื่อลงทุนในโครงการ GPD

                นางสาวยุพาพิน วังวิวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารและระธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน GULF เปิดเผยว่ารายได้รวมของปี 2567 คาดว่าจะเติบโตประมาณ 25 - 30% จากปี 2566 จากการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ของโครงการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ GPD หน่วยที่ 3 และ 4 ซึ่งมีกำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้งรวม 1,325 เมกะวัตต์ โดยมีกำหนดเริ่มจำหน่ายไฟฟ้าในเดือนมีนาคมและตุลาคม 2567 ตามลำดับ รวมทั้งการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ของโครงการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติหินกองหน่วยที่ 1 ซึ่งมีกำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้ง 770 เมกะวัตต์ ซึ่งมีกำหนดเริ่มจำหน่ายไฟฟ้าในเดือนมีนาคม 2567 นอกจากนี้ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) ของกลุ่ม GULF1 จะทยอยเปิดดำเนินการเพิ่มอีกจำนวน 120 เมกะวัตต์ในปีนี้ ในขณะที่โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (Solar Farms) และโครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (Solar Farms With Battery Energy Storage Systems: Solar BESS) ภายในประเทศ มีแผนที่จะทยอยเปิดให้ดำเนินการเชิงพาณิชย์เพิ่มอีก โครงการในปลายปี 2567 โดยมีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 532 เมกะวัตต์

นางสาวยุพาพิน กล่าวต่อว่า GULF เล็งเห็นถึงความสำคัญของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Decarbonization) ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของภาครัฐในปัจจุบันที่จะมุ่งสู่พลังงานสะอาด โดยในปี 2566 ที่ผ่านมา บริษัทได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับกฟผ. เพื่อพัฒนาและดำเนินโครงการ Solar Farms และ Solar BESS จำนวนรวม 24 โครงการ กำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้าตามสัญญารวมทั้งสิ้น 2,396 เมกะวัตต์ โดยมีกำหนดเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ระหว่างปี 2567 – 2572 และลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับกฟภ. เพื่อพัฒนาโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมจำนวน 2 โครงการ กำลังการผลิตติดตั้งรวม 20 เมกะวัตต์ ซึ่งทั้ง 2 โครงการมีกำหนดเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ในปี 2569 ทั้งนี้ ณ ปัจจุบัน GULF มีกำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้งจากพลังงานหมุนเวียนที่เปิดดำเนินการแล้วและอยู่ระหว่างการพัฒนารวมทั้งสิ้น 8,211 เมกะวัตต์ และพร้อมมีแผนที่จะขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติมอีกไม่ต่ำกว่า 3,000 เมกะวัตต์ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนให้ไม่น้อยกว่า 40% ของกำลังการผลิตทั้งหมดภายในปี 2578 จากโครงการ Solar Rooftop, Solar Farms, Solar BESS พลังงานลม พลังงานน้ำ และพลังงานขยะอุตสาหกรรม ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ผ่านรูปแบบการลงทุนใหม่ (Greenfield) การเจรจาการร่วมทุนกับพันธมิตรทางธุรกิจ และการเข้าซื้อกิจการ (M&A)

นอกจากนี้ ในปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้ GULF จะนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เพื่อนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าหินกองหน่วยที่ 1 กำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้ง 770 เมกะวัตต์ ซึ่งนับเป็นเอกชนรายแรกของประเทศไทยที่นำ LNG เข้ามาในประเทศ โดยการนำเข้า LNG นี้เป็นไปตามแผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติของประเทศ อันจะช่วยลดความเสี่ยงในการจัดหาก๊าซธรรมชาติ และเพิ่มความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศอีกด้วย

ในส่วนของความคืบหน้าของโครงการภายใต้ธุรกิจดิจิทัลยังคงเป็นไปตามแผน โดยธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Exchange) ภายใต้แพลตฟอร์ม Binance TH by Gulf Binance ได้เปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบแก่ผู้ใช้งานทั่วไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 16 มกราคมที่ผ่านมา โดยตั้งเป้าหมายส่วนแบ่งตลาดที่ประมาณ 30% ในปี 2567 ในขณะที่ธุรกิจศูนย์ข้อมูล (Data Center) นั้น อยู่ระหว่างการก่อสร้างและมีแผนที่จะเปิดให้บริการเฟสแรกในไตรมาสที่ ปี 2568 จำนวน 20 เมกะวัตต์ ซึ่งศูนย์ข้อมูลดังกล่าวจะมุ่งเน้นไปที่การใช้พลังงานสะอาดเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งศึกษาความเป็นไปได้ในการต่อยอดธุรกิจบริการด้านดิจิทัลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง สำหรับธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) GULF มีแผนร่วมทุนกับพันธมิตรที่มีทั้งช่องทาง ฐานลูกค้าและข้อมูล โดยจะนำเทคโนโลยีมาช่วยดำเนินการและสร้างบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ๆ ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการให้บริการ เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าที่อยู่นอกระบบธนาคารพาณิชย์ และจะส่งผลให้ Virtual Bank เติบโตได้ในอนาคต

ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทมีมติเห็นชอบให้นำเสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ในวันที่ เมษายน 2567 เพื่อพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินปันผลสำหรับผลการดำเนินงานของบริษัทประจำปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2566 ในอัตรา 0.88 บาทต่อหุ้น หรือคิดเป็นอัตราการจ่ายเงินปันผลต่อกำไรสุทธิเท่ากับร้อยละ 78.1 โดยกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิรับเงินปันผล (Record Date) ในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 และกำหนดจ่ายเงินปันผลในวันที่ 25 เมษายน 2567

Visitors: 1,998,930