GULF MTP – ท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 ติดตามผล ฟื้นฟูป่าชายเลนด้วยจุลินทรีย์ 3 ปี เติบโตกว่า 5 เท่าตัว

เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2568    ณ ป่าชายเลน เทศบาลตำบลเนินพระ  อ.เมือง จ.ระยอง  ผู้สื่อข่าวได้ร่วมกิจกรรม การติดตามประเมินผล โครงการฟื้นฟูป่าชายเลนเทศบาลตำบลเนินพระ ฯ ปีที่ 3  ซึ่งได้ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนโดย  บริษัทกัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินอล จำกัด (Gulf MTP ) และ โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3  ประกอบด้วย สำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด (สทร) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  บริษัท  บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด ( ITD) และกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ (PMSC )  ร่วมกับ เทศบาลตำบลเนินพระ ฯนำโดยนายบุญธรรม ใยกล้านายกเทศมนตรี และ วิสาหกิจกลุ่มประมงเรือเล็กหาดสุชาดานำโดย นายลำเพย แว่วเสียง ประธานฯ   ซึ่ง ได้ร่วมกันจัด “โครงการฟื้นฟูป่าชายเลนด้วยจุลินทรีย์ “  และ ปลูกต้นกล้าไม้ป่าชายเลนเพิ่มเติมกว่า 1,000 ต้น บริเวณที่ป่าเสื่อมโทรมและพื้นที่ว่างเปล่าบริเวณป่าชายเลน พื้นที่กว่า 3 ไร่     ซึ่งการติดตามผลการดำเนินงานครั้งนี้ เป็นปีที่ 3  พบว่า ต้นกล้าไม้ที่ปลูกมีอัตราการรอดกว่า 80 %  วัดอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยกว่า 5 เท่าตัว  ทั้งนี้มีระบบกลไกที่น่าสนใจในการดำเนินงานที่ต่างจากการปลูกป่าชายเลนโดยทั่วไปและมักพบว่ามีอัตาการรอดน้อยมากและไม่เจริญเติบโตเหมือนเช่นกรณีนี้  ผู้สื่อข่าวได้สัมภาษณ์ ดร.กฤษณ์ พงษ์เทพิน ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ บริษัท GULF MTP  วิทยากรผู้รับผิดชอบโครงการฯ ได้กล่าวถึง แนวคิดและระบบการบริหารจัดการของโครงการที่น่าสนใจ และมีความแตกต่างจากกรณีทั่วไป 

                   ดร.กฤษณ์  พงษ์เทพิน  กล่าวว่า โครงการนี้เริ่มต้นเมื่อปี 2564  โดยบริษัท  GULF MTP และโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ที่มีภารกิจตามนโยบายพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ อีอีซี ในการถมทะเลและก่อสร้างท่าเรืออุตสาหกรรม ระยะที่ 3  ฯ  มีนโยบายด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลและป่าชายเลน รวมทั้งส่งเสริมอาชีพแก่กลุ่มประมงเรือเล็กพื้นบ้าน อ่าวระยอง  ซึ่งได้สำรวจพบว่า มีพื้นที่ป่าชายเลนเทศบาลตำบลเนินพระ อ.เมือง จ.ระยอง ซึ่งอยู่ใจกลางเมืองและเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญของระบบนิเวศชายฝั่งที่สำคัญ ทั้งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและเพาะพันธุ์สัตว์ทะเลที่สำคัญแห่งหนึ่ง จึงได้กำหนดโครงการนี้ขึ้นเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูร่วมกับองค์กรท้องถิ่น และกลุ่มประมงเรือเล็กชายฝั่ง เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลนบางส่วนที่เสื่อมโทรมและปลูกป่าเพิ่มเติมให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น  จากการวิเคราะห์พื้นที่และวิธีการร่วมกับกลุ่มประมงฯ ซึ่งอยู่ในพื้นที่เดียวกับป่าชายเลนแห่งนี้มายาวนาน  จากข้อมูลเราตั้งสมมุติฐานที่สำคัญคือการฟื้นฟูระบบนิเวศและการปลูกป่าเพิ่มเติมที่เสื่อมโทรมจำเป็นต้องฟื้นฟูระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมปัจจัยสำคัญคือสภาพดิน น้ำ และธาตุอาหารของพื้นที่ปลูก  ประการที่สอง ที่มักไม่สำเร็จ คือการบริหารจัดการ ที่ขาดการติดตาม ดูแล อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้อัตราการรอดน้อยมาก ขาดธาตุอาหารช่วงเจริญเติบโต และวัชพืช หญ้า และเถาวัลย์เปรียง ศัตรูตัวร้าย ที่จะมารัดและปกคลุมต้นกล้าจนตายในที่สุด ไม่สามารถตั้งต้นขยายรากให้แข็งแรงยืนต้นต่อไปได้    ต่อคำถามว่า มีระบบการบริหารจัดการอย่างไร? จึงมีผลสำเร็จขนาดนี้  

           ดร.กฤษณ์ พงษ์เทพิน กล่าวต่อว่า  เราใช้หลักวิชาการว่าด้วย ฐานชีวภาพ (Biobased) ได้ออกแบบโครงการเพื่อส่งเสริมร่วมกับชุมชน ขึ้นมาเมื่อปี 2564   มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ

1) ใช้กลไกสำคัญของระบบนิเวศ คือ “จุลินทรีย์” ซึ่งมีบทบาทในการฟื้นฟูดิน แร่ธาตุสารอาหารพืช และปรับสภาพน้ำ มาใช้ในโครงการ ฯ 

2) อบรมให้ความรู้ด้านจุลินทรีย์และระบบนิเวศน์แก่กลุ่มประมงฯ ซึ่งชุมชนจะได้เข้าใจกลไกการทำงานและการเจริญเติบโตของพืช สามารถผลิตปุ๋ย ธาตุอาหารพืช ปรับสภาพน้ำดินได้ จากเศษวัสดุท้องถิ่น เช่น เศษปลาก้างปลา ผลิตฮอล์ดมนปลาทะเล ปุ๋ย และจุลินทรีย์ก้อนที่มีธาตุอาหารพืช เป็นต้น  

3) ส่งเสริมการบริหารจัดการโดย จัดตั้งองค์กรชุมชน จัดตั้ง “ ศูนย์เรียนรู้และธนาคารจุลินทรีย์ชุมชน ( “ กลุ่มประมงเรือเล็กหาดสุชาดา  ) ซึ่งจะเป็นองค์กรในการผลิตและติดตามดูแลป่าชายเลนในโครงการฯและผืนป่าชายเลนผืนนี้ต่อไปอย่างยั่งยืนคู่กับชุมชนได้ต่อไป และจะขยายผลองค์ความรู้สร้างผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์ ใช้ในครัวเรือน สิ่งแวดล้อม และการเกษตร ฯลฯ ซึ่งสร้างรายได้แก่ชุมชนด้วย เป็นลักษณะ Circular Economy ซึ่งได้แปรรูปเป็นปุ๋ยปลาหมัก จุลินทรีย์ก้อน (EM Ball ) บำบัดน้ำเสีย ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยหมัก ดินปลูก ฯลฯ ที่สำคัญคือการมีองค์กรและระบบการบริหารจัดการจะเสริมสร้างระบบการบริหารจัดการและความต่อเนื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นกลไกส่วนหนึ่งที่สำคัญให้โครงการปลูกป่าชายเลนประสบผลสำเร็จอย่างมาก ทั้งนี้ก็ต้องชมเชยในความมุมานะขยันและจริงจังของผู้นำชุมชน คือท่านประธานกลุ่มประมงฯ นายลำเพย แว่วเสียงและคณะกรรมการกลุ่มฯ มีส่วนสำคัญยื่งที่ทำให้กลไกและการจัดการส่งผลต่อความสำเร็จถึงวันนี้ 

          ดร.กฤษณ์ กล่าวโดยสรุปว่า องค์ประกอบที่สำคัญ เริ่มต้นที่เจตนารมย์ที่ดีและจริงจังของภาค CSR ของบริษัท GULF MTP และโครงการท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3  ทุกหน่วยงาน ที่ต้องการพัฒนาฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง และสนับสนุนงบประมาณในโครงการฯ  อีกประการที่สำคัญ คือ การพัฒนาต่างๆนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการนำองค์ความรู้หลักวิชาการนเรื่องนั้นๆมาใช้ในการพัฒนาสร้างระบบรองรับการดำเนินการ หากทำเป็นกิจกรรมแล้วจบไม่ต่อเนื่องไม่มีระบบรองรับที่ดีจะไม่มีประสิทธิภาพการบริหารจัดการและความต่อเนื่อง  การพัฒนาองค์กรชุมชนก็สำคัญเพราะเป็นฐานหลักในการพัฒนา จะมีผลต่อประสิทธิภาพและความต่อเนื่อง  และเสริมพลังด้วยการแสวงหาภาคีความร่วมมือ ซึ่งครั้งนี้ได้ เทศบาลตำบลเนินพระ ฯ เจ้าของพื้นที่ที่ดูแลป่าชายเลนมาต่อเนื่อง  สำนักงาน ทช. 1 ระยอง  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.ระยอง ประมงจังหวัด  สทร. กนอ. สื่อมวลชน และ ภาคCSRของโรงงานเอกชนจากหลายบริษัท ฯลฯ ซึ่งมีส่วนร่วมได้มาร่วมผลักดินกิจกรรมต่างๆร่วมกัน บนเป้าหมายเดียวกัน เพื่อความเข้มแข็งของชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนและคนระยอง คือพลังขับเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพ  ขอขอบคุณทุกภาคส่วนครับ

Visitors: 3,027,454