คพ.ตรวจสอบน้ำทะเลเปลี่ยนสี ชายหาดบางแสน บางจุดคุณภาพน้ำดีขึ้น

กรมควบคุมมลพิษ โดยสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 13 (ชลบุรี) รายงานการติดตามตรวจสอบสถานการณ์การเกิดน้ำทะเลเปลี่ยนสีเป็นสีเขียว (แพลงก์ตอนบลูม) พื้นที่บริเวณชายหาดบางแสน อ.เมือง จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 18.00 น. ตั้งแต่หาดวอนนภา หาดบางแสน ถึงบริเวณแหลมแท่น ระยะทางรวมประมาณ 5.3 กิโลเมตร พบว่า หาดบางแสน (วงเวียนบางแสน) น้ำทะเลสีน้ำตาลอ่อน มีกลิ่นเล็กน้อย มีค่าออกซิเจนละลายน้ำ (DO) = 4.62 มิลลิกรัมต่อลิตร (mg/l) (มาตรฐานค่าออกซิเจนละลายน้ำ มีค่าไม่น้อยกว่า 4 มิลลิกรัมต่อลิตร) หาดบางแสน (วงเวียนบางแสน) น้ำทะเลสีน้ำตาลอ่อน มีกลิ่นเล็กน้อย มีค่า DO = 4.62 mg/l  หาดบางแสน (บริเวณศาลเจ่าพ่อแสน) น้ำทะเลสีเขียวเข้ม มีกลิ่นเหม็นรุนแรง ลมแรง ขยะมาก DO = 4.07 mg/l และบริเวณแหลมแท่น น้ำทะเลสีเขียวอ่อน แพลงก์ตอนลอย มีกลิ่นเล็กน้อย ลมแรง ขยะมาก DO = 3.71 mg/l เมื่อเทียบผลการตรวจติดตามของวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 พบว่า หาดวอนนภาและหาดบางแสน (วงเวียนบางแสน) สถานการณ์ในภาพรวมดีขึ้น แต่หาดบางแสน (บริเวณศาลเจ่าพ่อแสน)และแหลมแท่น สถานการณ์แย่ลง พบแพลงก์ตอนลอย และมีกลิ่นเหม็นรุนแรง

หากนักท่องเที่ยวจะลงเล่นน้ำจะต้องระมัดระวังไม่กลืนน้ำ ไม่ให้น้ำเข้าตา อ ผู้ที่มีอาการภูมิแพ้ผิวหนัง ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำทะเล ทั้งนี้ กรมควบคุมมลพิษ จะติดตามสถานการณ์คุณภาพน้ำทะเลชายหาดบางแสนอย่างต่อเนื่อง

“ปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี หรือ “แพลงก์ตอนบลูม” เกิดจากการเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็วของแพลงก์ตอนพืช เนื่องจากน้ำทะเลในบริเวณนั้นมีปริมาณสารอาหารสูงประกอบกับสิ่งแวดล้อมเหมาะสม ผลกระทบที่เกิดขึ้น คือ เมื่อมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของแพลงก์ตอนพืช จะทำให้ปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำลดลงอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน ส่งผลให้ปลา และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อยู่ในสภาพขาดออกซิเจน และอาจตายในที่สุด นอกจากนี้ อาจพบกลิ่นคาวของแพลงก์ตอน หรือกลิ่นเน่าเหม็นของสัตว์น้ำที่ตาย”

Visitors: 1,143,985