กำนัน ต.ลาดตะเคียนฯ ผนึกกำลัง โครงการโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมฯ นิคมไฮเทคฯ ขยายนวัตกรรมจุลินทรีย์สู่ระดับครัวเรือน พัฒนาอาชีพสร้างรายได้ชุมชน

เมื่อวันที่ 3-6 กรกฎาคม 2568 กำนัน อัครเดช กัณหารี และ นายสิริเชษฐ์ ทองคำ นายก อบต. ลาดตะเคียน อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ผู้นำชุมชนและชาวบ้านจำนวนมาก จับมือ โครงการโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมฯ นิคมไฮเทคฯ โดย นายประสิทธิ์ หงษ์นิล ผช.ผจก.ฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ ผู้รับผิดชอบโครงการฯ และ ดร.กฤษณ์ พงษ์เทพิน ผช.ผอ. ฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ กลุ่มบริษัทกัลฟ์ (Gulf) วิทยากร ร่วมมือกัน ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เมืองจุลินทรีย์ ตำบลลาดตะเคียน ฯ เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่มีวิถีชีวิตและประกอบอาชีพเกษตรกรรม ตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีการจัดอบรมให้ความรู้แก่ชุมชน ด้านความรู้ฐานชีวภาพ และจุลินทรีย์ และระบบนิเวศสิ่งแวดล้อม ฯลฯ หลังจากนั้น กำนัน อัครเดช กัณหารี ร่วมกับชาวบ้าน และโครงการโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมฯ นิคมไฮเทคฯ จัดตั้ง ”ศูนย์เรียนรู้และธนาคารจุลินทรีย์ชุมชน” ขึ้น ณ ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ 9 ต.ลาดตะเคียน ฯ และได้นำจุลินทรีย์หัวเชื้อแจกจ่ายให้ชาวบ้านในตำบล นำไปเพาะเลี้ยงและใช้ประโยชน์ในครัวเรือนและการเกษตร ฯ มาอย่างต่อเนื่อง
การต่อยอดในครั้งนี้ ในช่วง 4 วันที่ผ่านมา ได้ส่งเสริมนวัตกรรมจุลินทรีย์สู่ระดับครัวเรือน เป็นครัวเรือนนำร่องและปแลงสาธิต การฟื้นฟูดินให้มีชีวิต มีจุลินทรีย์ และ อินทรีย์วัตถุธาตุสารอาหาร หรือการเลี้ยงดิน ให้ดินเลี้ยงพืช และพืชเลี้ยงคนสู่การพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน ในหลายหมู่บ้าน และ จัดอบรมองค์ความรู้เพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีความรู้และสามารถนำความรู้ไปใช้ในระดับครัวเรือนได้ เช่น การทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ การหมักปุ๋ยอินทรีย์จากวัสดุท้องถิ่น อาทิ ใบไม้ ฟาง เศษอาหาร ฯลฯ การทำหัวเชื้อสารอาหารพืชที่มีคุณภาพสูง (เทียบเท่าปุ๋ยเคมี) ขยายผลในการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ ปุ๋ยหมักอินทรีย์แบบผง และก้อน ที่มีสารธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และอาหารเสริม เพื่อนำไปใช้ในครัวเรือน ปลูกผัก อ้อย ข้าวโพด และทำนา การทำสารสมุนไพรไล่แมลงและโรคพืช การฟื้นฟูดิน การทำปุ๋ยอินทรีย์ประเภทต่างๆ และ ดินปลูกคุณภาพ ฯลฯ
นอกจากนี้ ยังได้ติดตามผลการนำสารอาหารพืช (ปุ๋ยน้ำชีวภาพ) ที่ผลิตครั้งที่ผ่านมานำไปใช้ปลูกพืชผัก ไม้ผล มะนาว ไร่อ้อย และข้าวโพด เป็นต้น มีผลการนำไปใช้ตอบสนองที่ดี พืชแข็งแรง เติบโต และมีการผลิดอก ออกผล ดีขึ้นมาก (ตัวอย่าง ที่บ้านของ ประธาน อสม.หมู่ 9 ฯ หรือบ้านท่านกำนัน เป็นต้น) ซึ่งเป็นโครงการนำร่อง และกำลังขยายผลสู่ครัวเรือนต่างๆ ต่อไป
นายอัครเดช กัณหารี กล่าวว่า ชุมชน ได้ร่วมมือกับ โครงการโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมฯ นิคมไฮเทคฯ เป็นอีกโครงการที่ดีมากมากทั้งนี้เพราะความรู้ที่นำมาตรงกับวิถีชีวิตอาชีพของชาวบ้านส่วนใหญ่คือทำเกษตรปลูกผัก ข้าวโพด มัน อ้อย พืชผักสวนครัว ฯลฯ ชุมชนได้นำไปใช้สามารถลดรายจ่าย เพิ่มรายได้และสร้างมูลค่าเพิ่มจากเศษวัสดุในชุมชนท้องถิ่น สามารถนำใบไม้ เศษอาหาร และวัสดุท้องถิ่นมาสร้างมูลค่าได้อย่างมากเลยครับ ซึ่งผมกำลังพัฒนาต่อยอดเป็นศูนย์เรียนรู้ระดับตำบลฯเพื่อการขยายผลและต่อยอดในหลายๆองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อชาวบ้านในพื้นที่ และ ต่อยอดให้เกิดอาชีพ รายได้ ซึ่งมีโอกาสที่จะพัฒนาเป็นธุรกิจชุมชน ต่อไปได้ ซึ่งขอขอบคุณ วิทยากร และ บริษัทฯ โครงการโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมฯ นิคมไฮเทคฯ ที่ได้สนใจห่วงใยชาวชุมชนนำความรู้มาให้และสนับสนุนชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง ครับ
นายประสิทธิ์ หงษ์นิล ผู้รับผิดชอบโครงการฯ ฝ่ายบริษัทฯ โครงการโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมฯ นิคมไฮเทคฯ กล่าวว่า ผมได้รับมอบหมายจากผู้บริหารฯ นายจิรศักดิ์ มีสัตย์ ผอ.อาวุโส ฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ ฯ มอบนโยบายบริษัทฯ ซึ่งให้ความสำคัญในการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น ผู้นำชุมชน เพื่อ พัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวชุมชนให้ดียิ่งขึ้น ทั้งด้าน อาชีพ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้ดำเนินการร่วมกับชุมชนในกิจกรรมต่างๆมาอย่างต่อเนื่องครับ โครงการนี้เป็นอีกโครงการฯหนึ่งที่สำคัญเพราะชาวบ้านให้ความสนใจมากเพื่อนำไปใช้ลดต้นทุนและพัฒนาการเกษตรครัวเรือนได้ในหลายๆด้าน กิจกรรมที่ขับเคลื่อนได้ดีและต่อเนื่องนั้น เพราะชุมชนมีผู้นำที่เข้มแข็ง ทั้งท่านนายก อบต. ท่านกำนัน ฯ ซึ่งสนใจและให้ความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนและชาวบ้านในพื้นที่ ครับ ซึ่งทางบริษัทฯ เป็นสมาชิกหนึ่งในพื้นที่ฯ ยินดีร่วมส่งเสริมและสนับสนุนครับ
ดร.กฤษณ์ พงษ์เทพิน ผช.ผอ.ฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ กลุ่มบริษัทกัลฟ์ วิทยากรในโครงการฯ (อดีตอาจารย์ มหาวิทยาลัย ฯลาดกระบัง) กล่าวว่า โครงการฯนี้ขับเคลื่อนได้ดีมีประสิทธิภาพมากพอสมควรครับ ทั้งนี้มีปัจจัยบวกมีการขับเคลื่อนที่มีพลัง คือ ประการแรก มีผู้นำชุมชน (ท่านนายก อบต. /ท่านกำนัน /ผู้หญ่บ้าน/ ผู้นำ อสม . กลุ่มสตรี ฯลฯ) ที่มีวิสัยทัศน์ กระตือรือร้น ให้ความสำคัญในการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิตที่ดีของชาวบ้าน ประการที่สอง ชาวบ้านให้ความสนใจให้ความร่วมมือดีมากกระตือรือร้นในการเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการทำงานและนำไปปฏิบัติจริง ประการที่สาม มีภาคธุรกิจเอกชน อย่างโครงการโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมฯ นิคมไฮเทคฯ ที่มีนโยบายและส่งเสริมชุมชนอย่างเป็นระบบ มีองค์ความรู้ และนักวิชาการหลากหลาย มาช่วยเสริมการทำงานร่วมกับชุมชนเกิดการเสริมแรงขับเคลื่อนร่วมกันและอย่างต่อเนื่อง ประการที่ สี่ โครงการนี้ มีแนวคิดยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนและสอดคล้องกับปัญหาความต้องการของชุมชน โดยเพาะด้านการเกษตร การลดต้นทุน และ การพึ่งตนเอง สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชน ที่ อบต. และกำนัน ดำเนินการอยู่เป็นพื้นฐาน ประการที่ห้า มีการรวมกลุ่มและจัดตั้งองค์กรชุมชน ได้แก่ งศูนย์เรียนรู้ และ ธนาคารจุลินทรีย์ /วิสาหกิจชุมชน ฯลฯ เป็นปัจจัยสำคัญของกลไกการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เชื่อมั่นว่า ชุมชนจะสามารถพัฒนาขยายผลสู่เป้าหมายและเกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมได้ต่อไป ซึ่งทางบริษัทฯจะประสานนักวิชาการ มาเสริมศักยภาพแก่ชุมชนและ ยินดีร่วมสนับสนุนชุมชนให้เข้มแข็งเพื่อประโยชน์ต่อชาวบ้านในพื้นที่ ต่อไป ครับ